Mining Pool ทำงานอย่างไร
การขุดคริปโตคือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อตรวจสอบการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน นักขุดที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้สำเร็จจะได้รับเหรียญที่ผลิตใหม่ขึ้นมา เมื่อนักขุดหลายๆคนรวมรวมทรัพยากรแรงขุดของพวกเขาเข้าด้วยกัน พวกเขาเพิ่มโอกาสที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ร่วมกันได้และได้รับรางวัลร่วมกัน อย่างไรก็ตามวิธีการที่รางวัลเหล่านี้จะถูกแบ่งให้กับผู้เข้าร่วมพูลจะถูกกำหนดโดย Payout Structure/Scheme ของ Mining Pool นั้นๆ โดยในปัจจุบันหลักๆแล้ว จะมีแค่สี่วิธี PPS, FPPS, PPLNS and PPS+ แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจคำศัพท์สำคัญๆที่ต้องใช้เพื่ออธิบายคอนเซปซะก่อน
คำศัพท์สำคัญ (Key Terms)
- Block Reward: รางวัลบล็อกคือหัวใจสำคัญของคริปโตที่ใช้ PoW เป็น Consensus เพราะมันเป็นแรงจูงใจหลักของนักขุดคริปโต สำหรับทุกบล็อกที่ได้รับการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ เครือข่ายจะปล่อยจำนวนเหรียญที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น เครือข่าย Bitcoin ในปัจจุบันให้รางวัล 6.25 BTC ในทุกๆบล็อกที่ถูกแก้ไข้ (และกำลังจะถูกลดลงครึ่งนึงเหลือ 3.125 BTC เพราะปรากฎการณ์ Halving)
- Transaction Fees (ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม): นอกจากรางวัลบล็อก เหมืองมีแหล่งรายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งก็คือ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ทุกครั้งที่ผู้ใช้มีการทำธุรกรรมคริปโต พวกเขาจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมเหล่านี้จะถูกสะสมและจากนั้นจะแบ่งแจกให้กับเหมืองขุดเป็นแรงจูงใจเพิ่มเติมในการขุด เนื่องจาก Block Reward จะมีการลดลงเรื่อยๆทุกสี่ปีจากการ Halving ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่สำคัญขึ้น เพราะมันจะเริ่มเป็นรายได้หลักของเหมืองขุดที่ทำให้เหมืองขุดยังมีกำไร
- Hashpower หรือ Hashrate (กำลังการขุด): คำว่า 'Hashrate' หรือ 'Hashing Power' นั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในโลกของการขุดเหมือง มันแทนพลังคำนวณที่เหมืองนั้นๆมี แสดงเป็นแฮชต่อวินาที (H/s) การแฮชนั้นเป็นการวัดประสิทธิภาพของเหมืองขุด ยิ่งการแฮชมากขึ้น โอกาสของเหมืองที่จะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก็จะยิ่งสูงขึ้น
- Luck (โชค): การขุดเหมืองไม่ได้เกี่ยวกับพลังคำนวณเพียงอย่างเดียว โชค หรือความโชคดียังเป็นปัจจัยที่สำคัญ การขุดบิทคอยน์นั้นเหมือนระบบลอตเตอรี่ นักขุดแต่ละคนจะได้รับตั๋วลอตเตอรี่ตามพลังการขุดของพวกเขา ยิ่งนักขุดมีตั๋วลอตเตอรี่ (Hashrate) มากเท่าไหร่ โอกาสในการชนะลอตเตอรี่ก็ยิ่งสูง ในบางกรณี เหมืองที่แรงขุดน้อยอาจจะมีโอกาสชนะเป็นครั้งคราว แต่ในระยะยาวแล้ว ปัจจัยเรื่องโชคมักจะถูกเฉลี่ยออก แต่หากมองในระยะสั้นปัจจัยเรื่องโชคอาจจะทำให้มีความไม่แน่นอนในการได้รับรางวัลการขุด
วิธีการจ่ายเงินที่เป็นที่นิยม
- PPS (Pay-Per-Share): ในช่วงเริ่มต้น วิธีการจ่ายแบบ PPS หรือ Pay-Per-Share เป็นวิธีการหลักที่พูลต่างๆใชักัน โดยที่วิธีการนี้นักขุดจะได้รับการจ่ายเงินที่คงที่ ไม่ว่าพูลจะขุดบล็อกสำเร็จหรือไม่ (พูลเป็นคนรับความเสี่ยงของโชค) โดยที่นักขุดจะได้รับรางวัลตามสถิติเฉลี่ยของแรงขุดที่นักขุดควรจะได้ โดยที่พูลจะมีการคิดค่าธรรมเนียมในการใช้พูล และนักขุดจะได้รางวัลที่สม่ำเสมอเป็นการตอบแทน แต่การจ่ายแบบ PPS ก็มีข้อเสีย เพราะว่าพูลนั้นจ่ายแค่ Block Reward ให้นักขุดและเก็บ Transaction Fee เอาไว้เป็นรายได้ของพูล ความนิยมของ PPS จึงค่อยๆลดลง และในปัจจุบันแทบไม่มีใครเลือกที่จะจ่ายแบบ PPS
- PPLNS (Pay Per Last N Shares): จะรางวัลให้กับเหมืองขุดตาม Hashrate ของพวกเขาตาม 'Shares' ล่าสุด ("Last N Shares") ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมให้นักขุดไม่ย้ายพูล เมื่อพูลค้นพบบล็อก รางวัลจะถูกแบ่งแจกให้กับผู้ที่มีส่วนร่วมใน 'Last N Shares' โดยที่การจ่ายแบบ PPLNS จะจ่ายรางวัลต่อเมื่อพูลขุดเจอบล็อกเท่านั้น หากพูลโชคไม่ดี นักขุดที่ใช้พูล PPLNS ก็จะไม่ได้รับรางวัลตลอดการขุดช่วงนั้นเลย ทำให้การขุดแบบ PPLNS มีการแกว่งของรายได้มากกว่า อีกทั้งส่วนใหญ่พูลแบบ PPLNS จะจ่ายแค่ Block Reward และเก็บ Transaction Fees ไว้เองเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง พูลแบบ PPLNS สามารถในบางกรณีเสนอการขุดแบบไม่มีค่าธรรมเนียม (0%) ให้นักขุด (เพราะพูลจะเก็บกำไรจาก Transaction Fees อยู่แล้ว และนักขุดจะไม่ได้กำไรในส่วนของ Transaction Fees เลย) ดังนั้นก่อนเลือกการขุดแบบ PPLNS ต้องดูให้ดีว่าเราได้รับ Block Reward อย่างเดียวคุ้มกับการขุดแบบ 0% หรือไม่
- PPS+ (Pay-Per-Share +): PPS+ เป็นการผสมระหว่าง PPS และ PPLNS เพราะหลังจากที่รายได้จาก Block Reward ลดลงเรื่อยๆจากการ Halving นักขุดส่วนใหญ่ก็ต้องการที่จะได้รับ Transaction Fees เพิ่มจาก Block Reward ด้วย การจ่ายแบบ PPS+ จึงเกิดขึ้น โดยที่ Block Reward จะถูกแบ่งแจกตามรูปแบบ PPS (นักขุดจะได้รับ Block Reward ไม่ว่าพูลจะขุดเจอบล็อกหรือไม่) ในขณะเดียวกัน Transaction Fees ถูกจ่ายเงินโดยใช้วิธีการ PPLNS (นักขุดจะได้รับ Transaction Fees ก็ต่อเมื่อพูลขุดเจอบล็อก) ด้วยเหตุนี้เองค่าธรรมเนียมการใช้พูลแบบ PPS+ จึงสูงกว่า PPS และ PPLNS
- FPPS (Full-Pay-Per-Share): FPPS เป็นการพัฒนาไปอีกขั้นของ PPS+ และเป็นวิธีการที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน โดยที่ทั้ง Block Reward และ Transaction Fees จะถูกจ่ายออกไปตามสถิติของนักขุดที่ควรจะได้ โดยที่นักขุดไม่ต้องรับความเสี่ยงเลย (นักขุดได้รับทั้ง Block Reward และ Transaction Fees ไม่ว่าพูลจะขุดเจอบล็อกหรือไม่) ด้วยเหตุนี้เองพูลอาจจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้พูลสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อแลกกับการได้รับทั้ง Block Reward และ Transaction Fees ที่สม่ำเสมอ
วิธีการจ่ายเงินอื่น ๆ
วิธีการเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่นิยมมาก หากต้องการทำความเข้าใจเพิ่มสามารถไปที่ Bitcoin Wiki เพื่อทำความเข้าใจเพิ่ม
- CPPSRB (Capped Pay Per Share with Recent Backpay): เป็นวิธีการที่ไม่ซ้ำกันที่กำหนดวงเงินสูงสุดแต่ยังคงคำนึงถึงการจ่ายเงินย้อนหลังล่าสุด รับรองความยุติธรรมในการแจกจ่าย
- DGM (Double Geometric Method): การผสมระหว่าง PPLNS และรางวัลทางเรขาคณิต DGM อนุญาตให้ผู้ดำเนินการดูดซับความแปรปรวนบางส่วนและรับรองการจ่ายเงินที่สอดคล้องกันมากขึ้น
- ESMPPS (Equalized Shared Maximum Pay Per Share): เป็นการพัฒนาต่อจาก SMPPS การคิดเงินแบบ ESMPPS รับรองว่าการจ่ายเงินจะถูกแบ่งแจกอย่างยุติธรรมในหมู่เหมืองทั้งหมด ส่งเสริมความรู้สึกของการเป็นส่วนนึงของชุมชน
- POT (Pay On Target): มีความคล้ายกับ PPS การจ่ายแบบ POT จ่ายเงินตามความยากของงานที่ส่งคืน ทำให้เป็นวิธีการที่มีความแปรปรวนสูง
- PPLNSG (Pay Per Last N Groups): มีความคล้ายกับ PPLNS ที่ส่วนแบ่งถูกจัดกลุ่ม และกลุ่มเหล่านี้หรือ "กะ" จะถูกจ่ายเงินร่วมกัน ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
- Prop (Proportional): รางวัลจะถูกแบ่งแจกตามสัดส่วนของจำนวนส่วนที่แต่ละเหมืองที่มีส่วนร่วม
- RSMPPS (Recent Shared Maximum Pay Per Share): วิธีการที่ให้ความสำคัญกับนักขุดล่าสุด รับรองว่าผู้เข้าร่วมใหม่รู้สึกมีค่าและได้รับการส่งเสริม
- Score: ระบบที่ถ่วงน้ำหนักระยะเวลาที่จะค่อยๆลดลงเมื่อเวลาผ่านไป วิธีการนี้ส่งเสริมการขุดเหมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากส่วนแบ่งล่าสุดมีค่ามากขึ้น
- SMPPS (Shared Maximum Pay Per Share): คล้ายๆกับ PPS ระบบ SMPPS มีวงเงินในการจ่ายเงิน รับรองความยั่งยืนของพูล
สรุป: วิธีการจ่ายเงินไหนที่ดีที่สุด?
ในปัจจุบัน FPPS (Full-Pay-Per-Share) เป็นตัวเลือกที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะนักขุดจะได้ทั้ง Block Reward และ Transaction Fees ที่สม่ำเสมอ ในขณะเดียวกัน สำหรับนักขุดที่รับความเสี่ยงที่สูงขึ้นได้มักจะเลือก PPLNS เพราะมีค่าธรรมเนียมที่น้อยกว่า แต่ทั้งนี้ Cryptodrilling แนะนำว่าควรศึกษาพูลที่จะใช้ก่อนให้ดี ว่าพูลนั้นจ่าย Block Reward และ Transaction Fees ด้วยหรือไม่
เริ่มการขุดไปกับ Cryptodrilling
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักขุดที่มีประสบการณ์หรือเพิ่งเริ่มต้น Cryptodrilling มีบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการของคุณ
- พูลขุด hashOS โดยทีม Cryptodrilling: ขุดบิทคอยน์และ LTC/DOGE ด้วยเรทที่ถูกกว่า! พูลเดียวที่มีทีมในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทีม Cryptodrilling พร้อมดูแล คลิ้กที่นี่เพื่อสมัครใช้ hashOS หรือหากยังไม่แน่ใจ อ่านบทความ 7 เหตุผลที่ต้องขุดกับ hashOS ได้ที่นี่!
- บริการซ่อมเครื่องขุด ASIC: ยืดอายุอุปกรณ์ขุดเหมืองของคุณด้วยบริการซ่อมแซม ASIC ที่เหมืองใหญ่ในไทยเลือกใช้! ทีมงานของเราจะให้บริการให้เครื่องของคุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณได้ผลตอบแทนสูงสุด อ่านเกี่ยวกับบริการซ่อมของเราเพิ่มเติมได้ที่นี่
- บริการจัดซื้อ ASIC (สั่งขั้นต่ำ 50 เครื่อง): หากคุณกำลังต้องการขยายกำลังการขุดและต้องการซื้อ ASIC เพิ่ม ทีม Cryptodrilling สามารถช่วยจัดซื้อผ่าน Distributor โดยตรง พร้อมดูแลการขนส่งให้ ติดต่อ Line OA เราได้เลย
- บริการโฮสติ้งและการจัดหาพลังงาน (ขั้นต่ำ 1MW เท่านั้น): สำหรับเหมืองขนาดใหญ่ เรามีบริการฝากวางเครื่อง และ/หรือการจัดหาพลังงาน โดยที่เรามีบริการตั้งแต่ Turnkey Solution (เอาเครื่องมาเสียบได้เลย) ไปจนถึงการหาแหล่งพลังงาน การสร้าง Infrastructure จัดซื้อ Container (ปัจจุบันเรามีแหล่งพลังงานในสหรัฐอเมริกาและลาว) สำหรับนักขุดขนาดใหญ่ที่มีความสนใจบริการนี้ สามารถติดเราผ่าน Line OA หรืออีเมลมาได้ที่ business@cryptodrilling.com
ช่องทางการติดต่อ
หากมีความต้องการอื่นๆ สามารถติดต่อเราผ่านทางช่องทางอื่นๆได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ Cryptodrilling พร้อมที่จะดูแลธุรกิจขุดคริปโตของคุณ!
Facebook Page | Facebook Messenger | Line OA | 089-485-0688