การขุดคริปโตเริ่มต้นขึ้นเมื่อ Bitcoin เกิดขึ้นในปี 2009 ในตอนแรกนักขุดทั่วไปสามารถได้รับรางวัลจากการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการขุดเดี่ยวด้วยตัวคนเดียวได้ (Solo Mining)
แต่เมื่อปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเน็ตเวิร์คบิทคอยน์ซับซ้อนมากขึ้น (จากการที่คนเข้ามาขุดเยอะขึ้นเรื่อยๆ) การขุดแบบเดี่ยวมีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะโอกาสที่จะขุดเจอ Block Reward นั้นน้อยลงเรื่อยๆ
นักขุดจึงเริ่มตัดสินใจรวมแรงขุด (hashrate) เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับ Block Reward นับตั้งแต่นั้นมา Mining Pool ต่างๆจึงมีความสำคัญมากใน ecosystem ของการขุดบิทคอยน์
Mining pools เป็นกลุ่มของนักขุดที่รวมพลังคำนวณของพวกเขาเพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจสอบธุรกรรมและเมื่อพวกเขาขุดเจอ Block Reward ก็จะมีการแบ่ง Block Reward นั้นให้กับสมาชิกของ Mining pool นั้นๆ คล้ายกับทีมของนักล่าสมบัติที่แทนที่จะค้นหาแบบเดี่ยว พวกเขารวมกันและแบ่งปันสมบัติตามการสนับสนุนของแต่ละคน
ปัญหาหลักที่ mining pools เข้ามาแก้ไขคือความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นของการขุดเจอบล็อก ด้วยการทำงานร่วมกัน นักขุดจะมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รายได้สม่ำเสมอและเสถียรมากกว่าถ้าพวกเขาขุดแบบเดี่ยว
ด้วยความซับซ้อนปัจจุบันของปัญหาทางคณิตศาสตร์ของบิทคอยน์ (หรือเหรียญ PoW อื่นๆ) การขุดแบบเดี่ยวเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง โอกาสของนักขุดแบบเดี่ยวในการตรวจสอบบล็อกน้อยมาก ทำให้เกิดโอกาสในการได้รับรางวัลที่ไม่ต่อเนื่องหรือไม่ได้เลย พูลเข้ามาแก้ปัญหานี้ด้วยการ:
การขุดคนเดียวคือการที่นักขุดทำงานอย่างอิสระและไม่ร่วมมือกับผู้อื่น ข้อดีคือ ถ้านักขุดสามารถแก้ปัญหาบล็อกได้เอง พวกเขาจะได้รับรางวัลทั้งหมด แต่ข้อเสียคือ โอกาสที่จะแก้ปัญหาบล็อกนั้นต่ำมาก ในขณะที่การขุดแบบรวมในพูลให้โอกาสที่จะได้รับรางวัลที่สม่ำเสมอมากขึ้น แต่รางวัลจะถูกแบ่งระหว่างสมาชิกทั้งหมดของพูล
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Solo Mining vs Pool Mining
เมื่อนักขุดเข้าร่วมกับ Mining pool นักขุดจะรวมกำลังการขุด (hashpower) เข้าไปในพูลนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และยืนยันธุรกรรมบน blockchain แต่ละพูลจะมีเซิร์ฟเวอร์ที่รับ "งาน" จากเครือข่ายคริปโต (ที่ใช้ Proof-of-Work เช่น บิทคอยน์) และแบ่งปันงานเหล่านี้ให้กับนักขุดในพูล เมื่อบล็อกถูกแก้ไข รางวัลจะถูกแบ่งตามส่วนแบ่งที่แต่ละนักขุดได้รับ
นักขุดจะได้รับรางวัลตามสัดส่วนของแรงขุดที่นักขุดส่งเข้าไปในพูล "สัดส่วน"นี้จะเป็นตัวกำหนดว่านักขุดจะได้รับรางวัลเท่าไหร่จากการมีส่วนร่วม ซึ่งจำนวนที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับว่าพูลนั้นๆมีรูปแบบการจ่ายรางวัลอย่างไร (Payout Schemes) เช่น (PPS vs. FPPS vs. PPLNS vs. PPS+)
Mining pools สามารถจัดหมวดหมู่ตามปัจจัยต่างๆดังนี้:
ข้อดีและข้อเสียของการเข้าร่วมพูลมีดังนี้:
ข้อดี:
ข้อเสีย:
อุตสาหกรรมคริปโตและสกุลเงินดิจิตอลมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา Mining Pools ก็ไม่มีข้อยกเว้น ปัจจุบันมีการพูดถึง Stratum V2 มากขึ้น ซึ่งหากมีการใช้งาน Stratum V2 จะทำมีการกระจายอำนาจของพูลไปยังนักขุดมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหา Centralization ได้ ซึ่ง
Mining Pools ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การขุดคริปโต โดยเปลี่ยนการขุดจากขุดเดี่ยวเป็นการร่วมมือกันระหว่างนักขุดทุกคน ทำให้รายได้จากการขุดมีความเสถียรและสม่ำเสมอมากขึ้น ในขณะที่โลกคริปโตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา Mining pools ก็ต้องมีการปรับตัว เพื่อให้ตัวเองนั้นยังมีความเกี่ยวข้องอยู่ในระบบนิเวศของบิทคอยน์ Stratum V2 ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากว่าจะช่วยลด Centralization ของพูลได้
หากต้องการศึกษาลึกลงไปในโลกขอ Mining pools สามารถอ่านบทความอื่นๆในเว็บของเราเพิ่มเติมได้ เช่น โครงสร้างการจ่ายเงิน (Payout Schemes) พูลยอดนิยมในปี 2023 และอื่น ๆ อีกมากมาย เข้าร่วมคอมมูนิตี้ของเราเพื่ออัปเดตเกี่ยวกับแนวโน้มและแนวคิดล่าสุดของโลกขุดบิทคอยน์กัน!
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักขุดที่มีประสบการณ์หรือเพิ่งเริ่มต้น Cryptodrilling มีบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการของคุณ
หากมีความต้องการอื่นๆ สามารถติดต่อเราผ่านทางช่องทางอื่นๆได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ Cryptodrilling พร้อมที่จะดูแลธุรกิจขุดคริปโตของคุณ!
Facebook Page | Facebook Messenger | Line OA | 089-485-0688